วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

การสอนโดยใช้สถาณการณ์จำลองและเกม

การสอนโดยใช้สถาณการณ์จำลองและเกม



วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)

...เป็นการสอนที่มุ่งช่วยผู้เรียนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นจริงที่สถานการณ์นั้นจำลองขึ้นมา ดังนั้นการอภิปรายจึงควรมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้ความเป็นจริงว่า ในความเป็นจริง สถานการณ์ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างไร และอะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้จากการเล่นของตนในสถานการณ์นั้น...
วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
12.1  ความหมาย
                วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียงกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
12.2  วัตถุประสงค์
                วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ หรือเรื่องที่มีตัวแปรจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน
12.3  องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน
                12.3.1  มีสถานการณ์  ข้อมูล บทบาทและกติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง
                12.3.2  ผู้เล่นในสถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กันหรือมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น
                12.3.3  ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการใช้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ
                12.3.4  การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
                12.3.5  มีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น เพื่อการเรียนรู้
12.4  ขั้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของการสอน
                12.4.1  ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลอง
                12.4.2  ผู้สอนนำเสนอสถานการณ์จำลอง บทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น
                12.4.3  ผู้เรียนเลือกบทบาทที่จะเล่น หรือผู้สอนกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
                12.4.4  ผู้เรียนเล่นตามกติกาที่กำหนด
                12.4.5  ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น
                12.4.6  ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเล่น
12.5  เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพ
                12.5.1  การเตรียมการ
               ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลองที่จะใช้สอนโดยอาจสร้างขึ้นเอง เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยตรง ซึ่งถ้าจะสร้างขึ้นเอง ผู้สร้างจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการสร้าง รวมทั้งมีประสบการณ์ในสถานการณ์นั้นในความเป็นจริง หรือผู้สอนอาจเลือกสถานการณ์จำลองที่มีผู้สร้างไว้แล้ว หากตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการสถานการณ์จำลองที่วางจำหน่ายมีจำนวนไม่น้อย ผู้สอนสามารถศึกษาได้จากรายการและการคำอธิบายซึ่งจะบอกวัตถุประสงค์และลักษณะของสถานการณ์จำลองไว้สถานการณ์จำลองโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ เป็นสถานการณ์จำลองแท้ กับสถานการณ์จำลองแบบเกม หรือที่เรียกว่า เกมจำลองสถานการณ์ สถานการณ์จำลองแท้ จะเป็นสถานการณ์การเล่นที่ให้ผู้เรียนได้เล่น เพื่อเรียกรู้ความจริง เช่น ผู้สอนอาจจำลองสถานการณ์ในประวัติศาสตร์ขึ้นมาให้ผู้เรียนเล่น โดยผู้เรียนจะต้องใช้ข้อมูลที่เป็นจริงของสถานการณ์นั้นในการจัดสินใจในเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนเกมจำลองสถานการณ์ มีลักษณะเป็นเกมการเล่น แต่เกมการเล่นนี้มีลักษณะที่สะท้อนความเป็นจริง ในขณะที่เกมธรรมดาทั่วๆ ไป อาจจะไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงอะไร เกมจำลองสถานการณ์นี้มีอยู่ 2 ประเภทคือ เป็นเกมจำลองสถานการณ์นี้มีอยู่ 2 ประเภทคือ เป็นเกมจำลองสถานการณ์แบบไม่มีการแข่งขัน เช่น เกมจำลองสถานการณ์การเลือกตั้ง เกมจำลองสถานการณ์การเลือกอาชีพ เป็นต้น และเกมจำลองสถานการณ์แบบมีการแข่งขัน เช่น เกมจำลองสถานการณ์มลภาวะเป็นพิษ เกมจำลองสถานการณ์การค้าขาย เป็นต้น
               เมื่อมีสถานการณ์จำลองแล้ว ผู้สอนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในสถานการณ์จำลองนั้น และความลงเล่นด้วยตนเอง เพื่อจะได้ทราบถึงอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ในการเล่น จะได้จัดเตรียมการป้องกันหรือแก้ไขไว้ให้พร้อม เพื่อช่วยให้การเล่นเป็นไปอย่างสะดวกและราบรื่น ต่อจากนั้นจึงจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการเล่นไว้ให้พร้อม รวมทั้งการจัดสถานที่เล่นให้เอื้ออำนวยต่อการเล่น
                12.5.2 การนำเสนอสถานการณ์จำลอง บทบาท และกติกา
                 เนื่องจากสถานการณ์จำลองส่วนใหญ่จะมีความซับซ้อนพอสมควรไป ถึงระดับมาก การนำเสนอสถานการณ์ บทบาท และกติกา จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมการอย่างดี ผู้สอนควรนำเสนออย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ไม่สับสน และควรจัดข้อมูลทุกอย่างไว้ให้พร้อม ในการนำเสนอ ผู้สอนควรเริ่มด้วยการบอกเหตุผลและวัตถุประสงค์กว่างๆ แก้ผู้เรียนว่า การเล่นในสถานการณ์จำลองนี้จะให้อะไรและเหตุใดจึงมาเล่นกัน ต่อไปจึงให้ภาพรวมของสถานการณ์จำลองทั้งหมด แล้วจึงให้รายละเอียดที่จำเป็น เช่น กติกา บทบาท เมื่อทุกคนเข้าใจพอสมควรแล้ว จึงให้เล่นได้
                12.5.3     การเลือกบทบาท
                            เมื่อผู้เรียนเข้าใจภาพรวม และกติกาแล้ว ผู้เรียนทุกคนควรได้รับบทบาทในการเล่น ซึ่งผู้เรียนอาจเป็นผู้เลือกเอง หรือในบางกรณี ครูอาจกำหนดบทบาทให้ผู้เรียนบางคนรับบทบาทบางบทบาท ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการหรือความจำเป็นของผู้เรียนคนนั้น
                12.5.4 การเล่นในสถานการณ์จำลอง
                ในขณะที่ผู้เรียนกำลังเล่นในสถานการณ์จำลองนั้นผู้สอนควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน และจดบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ นอกจากนั้นต้องคอยดูแลให้การเล่นดำเน้นไปอย่างไม่ติดขัด ให้คำปรึกษาความจำเป็น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
                12.5.5 การอภิปราย
                เนื่องจากการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเป็นการสอนที่มุ่งช่วยผู้เรียนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นจริงที่สถานการณ์นั้นจำลองขึ้นมา ดังนั้นการอภิปรายจึงควรมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้ความเป็นจริงว่า ในความเป็นจริงสถานการณ์ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างไรและอะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์นั้น ๆ ซึ่งผู้เรียนควรได้เรียนรู้จากการเล่นของตนในสถานการณ์นั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้เรียนรู้ความเป็นจริงแล้ว การอภิปรายอาจขยายต่อไปว่า เราควรจะให้สถานการณ์นั้นคงอยู่ หรือเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้
12.6  ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
                12.6.1 ข้อดี
                1)        เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้อย่างเข้าใจ เกิดความเข้าใจ เนื่องจากได้มีประสบการณ์ที่เห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง
                2)        เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูงมาก ผู้เรียนได้เรียนอย่างสนุกสนาน การเรียนรู้มีความหมายต่อตัวผู้เรียน
                3)       เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก เช่น กระบวนการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการสื่อสาร กระบวนการจัดสินใจ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการคิด เป็นต้น
                12.6.2 ข้อจำกัด
                1)     เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องมีวัสดุอุปกรณ์  และข้อมูลสำหรับผู้เล่นทุกคน และสถานการณ์จำลองบางเรื่องมีราคาแพง
                2)       เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก เพราะต้องใช้เวลาแก้ผู้เล่นในการเล่นและการอภิปราย
                3)       เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก ผู้สอนต้องศึกษารายละเอียด และลองเล่นด้วยตนเอง และในกรณีที่ต้องสร้างสถานการณ์จำลองหรือเกมจำลองสถานการณ์เอง ยิ่งต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
                4)    เป็นวิธีสอนที่ต้องพึ่งสถานการณ์จำลอง ถ้าไม่มีสถานการณ์จำลองที่ตรงกับวัตถุประสงค์ หรือความต้องการ ผู้สอนต้องสร้างขึ้นเอง ถ้าผู้สอนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสถานการณ์เพียงพอ ก็จะไม่สามารถสร้างได้
                5)       เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่นและแสดงออกอย่างหลากหลาย จึงเป็นการยากสำหรับผู้สอนในการนำการอภิปรายให้ไปสู่การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์


การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม

ในการปฏิรูปการเรียนรู้นั้น  ผู้สอนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้   มีความรู้   ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน   และมีความเชื่อว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้หมดทุกคนตามประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล  นักการศึกษา          โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (http://images.somnuck.multiply.com/attachment10/ STXWKAOKCGWAACT RUOL/%EO….)   ได้กล่าวว่า   ทุกคนมีความสามารถที่หลากหลาย   (Multiple intelligences)  ใน 8 ด้าน คือ   ด้านภาษา   ด้านการใช้เหตุผล   ด้านมิติพันธ์   ด้านร่างกาย   ด้านการเคลื่อนไหว   ด้านดนตรี   ด้านมนุษยสัมพันธ์  ด้านความเข้าใจในตนเอง  และด้านความเข้าใจในธรรมชาติ  ดังนั้น  ในการจัดการเรียนการสอน  ต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  สามารถเรียนรู้ได้ตามความแตกต่างของบุคคล
ความหมายการสอนโดยใช้เกม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม  คือ  เกมการศึกษา  เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เป็นเกมที่มีลักษณะการเล่นเพื่อการเรียนรู้  “Play to learning”  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม  เรียนไปด้วยและก็สนุกไปด้วยพร้อมกัน ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (สุชาติ แสนพิช http://researchers:in.th/ block/ Seampich/127)
พระมหาธราบุญ  คูจินดา  (http://www.pty.ac.th/ptyweb2009/download/Jeopardy Game Research.doc)  กล่าวว่า  เกมประกอบการสอน  หมายถึง  การนำเอาจุดประสงค์ใด ๆ ของการเรียนรู้ตามหลักสูตรมาประกอบขึ้นเป็นการเล่น  ผู้เล่นจะเล่นเกมไปตามกติกาที่กำหนด  ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ในเนื้อหามามีส่วนร่วมในการเล่นด้วย
ทิศนา  แขมมณี  (2544 : 81 – 85)  กล่าวว่า  การเรียนรู้โดยใช้เกม  เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  โดยการให้นักศึกษาเล่นเกมตามกติกา  และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น  วิธีการเล่น และผลของการเล่นเกมของนักศึกษามาใช้ในการสรุปการเรียนรู้โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ  อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ  โดยนักศึกษาเป็นผู้เล่นเอง  ทำให้ได้ประสบการณ์ตรง  เป็นวิธีที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมสูง
คณาภรณ์  รัศมีมารีย์  (http://www.itie.org/eqi/modules.php?name=Journal&file= display&jid=683) กล่าวว่า เกมที่นำมาใช้ในการสอนส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่เรียกว่า เกมการศึกษา เป็นเกมที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เล่นเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  มิใช่เล่นเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น
จึงสรุปได้ว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกมมีประโยชน์ช่วยให้นิสิต นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน  เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน  และเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนไปโดยที่ผู้เรียนไม่รู้ตัว  รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการทำงานและอยู่ร่วมกัน
เทคนิคการสอนโดยใช้เกม
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมให้มีประสิทธิภาพ  ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  มีดังนี้
1.  การเลือกและนำเสนอเกม ผู้สอนต้องสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาสาระของการสอน  ถ้านำเกมของผู้อื่นที่สร้าง  ต้องนำมาปรับ  ดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ซึ่งเกมการศึกษามี 3 ประเภท  คือ
1.1  เกมแบบไม่มีการแข่งขัน  เช่น  เกมการสื่อสาร  เกมการตอบคำถาม เป็นต้น
1.2  เกมแบบแข่งขัน   มีผู้แพ้   ผู้ชนะ     เกมส่วนใหญ่จะเป็นเกมแบบนี้เพราะการแข่งขันช่วยให้การเล่นเพิ่มความสนุกสนาน
1.3  เกมจำลองสถานการณ์  เป็นเกมที่จำลองความเป็นจริง  สถานการณ์จริง เกมแบบนี้มี 2 ลักษณะ  คือ
1.3.1  การจำลองความเป็นจริงลงมาเล่นในกระดานหรือบอร์ด  เช่น  เกมเศรษฐี  เกมมลภาวะ  เกมแก้ปัญหาความขัดแย้ง  เป็นต้น
1.3.2  การจำลองสถานการณ์และบทบาทให้เหมือนความเป็นจริง    โดยผู้เล่นจะต้องลงไปเล่นจริง
สุชาติ  แสนพิช  (http://researchers:in.th/block/Seampich/127)  กล่าวว่า  รูปแบบเกมที่จะนำมาใช้ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก  ดังนี้
1.  ความจำ ความคงทนในการจำชุดของเนื้อหา เช่น เกมแบบฝึกหัด  เกม Puzzle เป็นต้น
2.  ทักษะการกระทำ   มีเรื่องของสถานการณ์และการกระทำ  การเลียนแบบ  เป็นเกมแบบ Simulation  ต่าง ๆ  เช่น เกมยิง  เกมขับรถ  เป็นต้น
3.  ประยุกต์ความคิดรวบยอดและกฎข้อบังคับต่าง ๆ     และขั้นตอนวิธีการในการปฏิบัติ  มีเงื่อนไขในการกระทำ  เช่น  เกมกีฬา, Action
4.  การตัดสินใจ การแก้ปัญหา เกมแบบเป็นเรื่องราว สามารถแสดงผลการกระทำได้ทันที (Real Time)  เช่น  เกมวางแผน  เกมผจญภัย  เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก
5.  การอยู่ร่วมกับสังคม   เช่น   เกมเกี่ยวกับการสื่อสาร   เกมเล่าเรื่องแล้วให้เลือก  เกมวางแผน
จึงสรุปได้ว่า  การสอนโดยใช้เกมต้องเลือกใช้เกมหรือสร้างเกมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอน  เพื่อฝึกฝนทักษะ  เพื่อเรียนรู้เนื้อหาสาระ  หรือเพื่อเรียนรู้ความจริงของสถานการณ์  ผู้สอนต้องสังเกตให้ชัดเจนก่อนสร้างเกม  หรือก่อนเลือกเกมผู้อื่นมาปรับใช้
2.  การชี้แจงวิธีการเล่นและกติกาการเล่น
ผู้สอนควรจัดลำดับขั้นตอนและให้รายละเอียดที่ชัดเจน  กติกาการเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเล่นเกม  เพราะกติกานี้จะตั้งขึ้นเพื่อควบคุมให้การเล่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์  และดูแลให้ผู้เล่นปฏิบัติตามกติกาของการเล่นอย่างเคร่งครัด
3.  การเล่นเกม
ก่อนการเล่น ผู้สอนควรจัดสถานที่ของการเล่นให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการเล่น   การเล่นควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน  และต้องคอยควบคุมเวลาในการเล่น
ขณะกำลังเล่น ผู้สอนควรติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด  และควรบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  เพื่อนำไปใช้ในการอภิปรายหลังการเล่น
4.  การอภิปรายหลังการเล่น  ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก  หากขาดขั้นตอนนี้การเล่นเกมก็คงไม่ใช่วิธีสอน  การอภิปรายหลังการเล่นเกมควรมุ่งประเด็นไปตามจุดประสงค์ของการสอนเพื่ออะไร  ซึ่งอาจแบ่งการอภิปรายผลหลังการเล่นเกมตามจุดประสงค์ของการเล่นเกมได้  ดังนี้
1.  เพื่อฝึกฝนเทคนิคหรือทักษะต่าง ๆ  ที่ต้องการให้ผู้เรียน  การอภิปรายควรมุ่งไปที่ทักษะนั้นว่า  ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะนั้นเพียงใด  ประสบความสำเร็จตามต้องการหรือไม่  และจะมีวิธีใดที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น
2.  เพื่อเรียนรู้เนื้อหาสาระจากเกม    ควรอภิปรายในประเด็นที่ว่า    ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างไร  ได้ความเข้าใจมาจากเล่นเกมตรงส่วนใด
3.  เพื่อเรียนรู้ความเป็นจริงของสถานการณ์ต่าง ๆ        ควรอภิปรายในประเด็นว่า  ผู้เรียนได้เรียนรู้ความจริงอะไรบ้าง  การเรียนรู้นั้นได้มาจากไหน อย่างไร  ผู้เรียนได้ตัดสินใจอะไรบ้าง  ทำไมจึงตัดสินใจเช่นนั้น  และการตัดสินใจให้ผลอย่างไร  ผลนั้นบอกความจริงอะไร  ผู้เรียนมีข้อสรุปอย่างไร  เพราะอะไรจึงสรุปอย่างนั้น  เป็นต้น
จึงกล่าวได้ว่า  จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต่างกัน  เกมที่ใช้ก็จะแตกต่างกันไปด้วย  ดังนั้นการเลือกใช้และพัฒนาเกม   จึงควรคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ควบคู่ไปกับรูปแบบเกมที่เหมาะสม    เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปพร้อมกับการเกิดการเรียนรู้
คณาภรณ์  รัศมีมารีย์  กล่าวว่า  การเรียนการสอนโดยใช้เกมนี้ต้องมีบทบาทของผู้สอน  ผู้เรียน  บรรยากาศการเรียนการสอน  และสื่อ  ดังนี้
การเตรียมบทบาทของผู้สอน
1.  ก่อนการใช้กิจกรรมเกม
1.1  ผู้สอนเตรียมเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน
1.2  ผู้สอนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเล่นเกม
1.3  ผู้สอนเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ  เท่ากับจำนวนนักศึกษา
2.  ระหว่างการเล่น
2.1  ผู้สอนแจกเอกสารความรู้และเกม
2.2  ผู้สอนอธิบายกติกา  และวิธีเล่นแก่ผู้เรียน
2.3  ให้กลุ่มผู้เรียนเล่นเกมในเวลาที่กำหนด
3.  หลังการใช้กิจกรรมเกม
3.1  ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเล่นเกม
3.2  ผู้สอนประเมินตนเองในการใช้เทคนิคเกม
การเตรียมบทบาทของผู้เรียน
1.  ผู้สอนแบ่งกลุ่มของผู้เรียนให้สอดคล้องกับเกม
2.  ผู้เรียนศึกษาเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน
3.  ผู้เรียนศึกษากติกาและวิธีการเล่นเกม
4.  ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเล่นเกม
บรรยากาศการเรียนการสอน
1.  สถานที่ที่ใช้เล่นเกม  ควรเป็นห้องที่สามารถจัดนักศึกษานั่งเป็นกลุ่มได้
2.  การเรียนเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง  โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะ นิสิต นักศึกษาศึกษาเอกสารความรู้และเล่นเกม
3.  ในขณะเล่นเกมเพื่อเป็นการผ่อนคลาย  อาจเปิดเพลงเบา ๆ ได้
สื่อการเรียนรู้
1.  เอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สอน (ใบงาน)
2.  อุปกรณ์เกี่ยวกับเกม  กติกา  และวิธีเล่น
จึงกล่าวได้ว่า  รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกม  เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ  และจูงใจผู้เรียนให้สนใจเรียนรู้เพิ่มขึ้น  เกมอาจจำแนกเป็นเกมที่มีวัสดุประกอบ  เช่น เกมไพ่  เกมบิงโก  เกมอักษรไขว้  เกมกระดานต่าง ๆ  เป็นต้น  และเกมที่ไม่มีวัสดุประกอบ  เช่น เกมทายปัญหา  เกมใบ้คำ  เกมสถานการณ์จำลอง  เป็นต้น  ผู้สอนจึงควรเลือกเกมมาใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน  จุดประสงค์และวัยของผู้เรียน
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้เกม
พระมหาธราบุญ  คูจินดา  (http://www.pty.ac.th/ptyweb2009/download/Jeopardy gameReseach.doc)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  ประสิทธิผลการสอนทักษะการฟัง  พูด  อ่าน  และเขียนอังกฤษด้วยเกม Jeopardy  พบว่า เกม Jeopardy  ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการฟัง  พูด  อ่านเขียนภาษาอังกฤษได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเยี่ยม  ผู้เรียนมีความพึงพอใจและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  และได้กล่าวว่า  เกมมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
1.  เกมเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคล่องและความสามารถรอบตัวสูง    ช่วยให้ผู้เล่นมีผลสัมฤทธิ์ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านพุทธิศึกษา และจริยศึกษา  และความสามารถด้านการวิเคราะห์  การสังเคราะห์และการประเมินค่า
2.  เกมจะช่วยให้ผู้เล่นพัฒนาพลังความคิดสร้างสรรค์ได้มาก
3.  เกมส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจ  การสื่อสาร  ความสัมพันธ์กับผู้อื่น  และเจตคติทางด้านความกระตือรือร้นที่จะฟังความเห็นผู้อื่น  ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา
4.  ข้อได้เปรียบสูงสุดของวิธีสอนโดยใช้เกม คือ ความสนุก  ทำให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดี
5.  เกมส่วนใหญ่มักจะใช้พื้นฐานทางวิชาการหลาย ๆ   ด้าน          ซึ่งทำให้ผู้เล่นต้องรู้จักบูรณาการความรู้และทักษะหลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน
ทิศนา  แขมมณี  (2551 : 368 – 369)  ได้กล่าวว่า  วิธีสอนโดยใช้เกมมีข้อดีและข้อจำกัด  ดังนี้
ข้อดีของวิธีสอนโดยใช้เกม
1.  เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง  ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
2.  เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้   โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง   ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน
3.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอน  และผู้เรียนชอบ
ข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยใช้เกม
1.  เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก
2.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม
3.  เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก
4.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ   จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
เชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้




e-pedagogy.

e-pedagogy

เป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยนำข้อดีของการเรียนทั้งสองแบบมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด http://www.education.mju.ac.th

รูปแบบการสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)



    การบรรยาย คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ กำหนด โดยการ
เตรียมเนื้อหาสาระ แล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถามแล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการอย่างใด อย่างหนึ่ง (ทิศนา แขมมณี, 2544)

เชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้





รูปแบบการสอนแบบโครงการ (Project base)

การเรียนการสอนแบบโครงการ  (  Project  base  )  ได้นำแนวคิดของ  John  Dewey  มาประยุกต์เป็น                 รูปแบบการเรีนยการสอน  โดยมีหลักสำคัญคือ  การพัฒนาเด็กสามารถทำได้ด้วยการให้เด็กเป็นผู้รู้จักแสวงหาความรู้  ความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  เพื่อค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ  เด็กสามารถสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในตัวเด็กเอง
                โครงการการคือ  การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลุ่มลึก  ตามหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ  เน้นให้เด็กกระทำอาจเป็นรายบุคคลหรือรายุล่มก็ได้  ดครงการนั้นจะต้องประกอิบด้วยทฤษฏีและหหลักการ  มีการดำเนินงานเป็นขั้น  ๆ  โดยใช้วิชาหลาย  ๆ  วิชาที่เกี่ยวข้องมาบรูณาการ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้  ระยะเวลาทำโครงการขึ้นอยู่กับเรื่องที่เด็กสนใจ  
กระบวนการ
                โครงการถือเป็นการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยความหมาย  เหมาะกับพัฒนาการเด็ก  เป็นการศึกษาอย่างลุ่มลึกในช่วงเวลาที่สามารถได้ตามความสนใจของเด็ก  โดยมีกิจกรรมหลักในการทำโครงการดังนี้
  1. กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  เป็นกิจกรรมที่เด็กจะใช้ตั้งแต่เริ่มดครงการจนสิ้นสุดโครงการ  เพื่อแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันแก้ปะญหาด้วยกัน
  2. กิจกรรมทัศนศึกษา  เป็นกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้สัมผัส  รับรู้  สังเกตและมีปฏิสัมพันธ์  จากสิ่งที่ปรากฏด้วยตัวเอง  ณ  สถานที่จริง 
  3. กิจกรรมสืบค้น  เป็นกิจกรรมที่เด็กจะต้องทำการค้นคว้าเพื่อหาข้อความรู้ที่ตนเองต้องการ  อาจมาจากหนังสือ  บุคคล  สถานที่  Internet  ด้วยการอ่าน  สอบถาม  สนทนา  เพื่อให้ได้ข้อมูลลุ่มลึกสามารถนำมาสนับสนุนโครงการให้บรรลุเป้าหมาย
  4. กิจกรรมนำเสนอผลงาน  ซึ่งอาจนำเสนอโดยการอธิบาย  บรรยายหรือจัดแสดง  เมื่อสิ้นสุดโครงการ  เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากโครงการ
กิจกรรมทั้ง  4  กิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้ในแต่ละระยะของโครงการ  ซึ่งมีอยู่  4  ระยะ  (  บางตำราแบ่งเป็น  3  ระยะ  )
ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงการ  เป็นขั้นตอนที่เด็กและครูร่วมกันอภิปรายเพื่อเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำการสืบค้น  โดยให้หลักเกณฑ์ดังนี้ 
  1. เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ  สัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตประจำวันของเด็ก
  2. เป็นทักษะพื้นฐานของภาษา  คณิตศาสตร์  และสามารถบูรณาการวิทยาศาสตร์และศิลปะเข้าด้วยได้
  3. เป็นเรื่องทีเด็กมีโอกาสร่วมมือกันทำงาน  ลงมือปฏิบัติ  นำมาเล่นสมมติและให้ทักษะต่าง  ๆ  จากการเรียนรู้ได้
ระยะที่  2  วางแผนโครงการ  เป็นขั้นตอนการกำหนดจุดประสงค์  ขอบเขตเนื้อหาที่ต้องการศึกษา 
ระยะเวลาและวิธีการศึกษา 
                ระยะที่  3  ดำเนินการ  เป็นขั้นตอนของการดำเนินโคตรงการตามแผนที่กำหนด   ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ  ครูจะเป็นผู้จัดหา  จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น ไม่ว่าจะเป็นของจริง  หนังสือ  วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  หรือแม้แต่การออกไปศึกษานอกสถานที่หรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ  วิทยากรท้องถิ่น  เพื่อให้เด็กทำการสืบค้นสังเกตอย่างใกล้ชิดและบันทึกสิ่งที่พบเห็น  อาจมีการเขียนภาพที่เกิดจากการสังเกต  จัดทำกราฟ  แผนภูมิไดอะแกรม  หรือสร้างแบบต่างๆ  สำรวจ  คาดคะเน  มีการอภิปราย เล่นบทบาทสมมติเพื่อแสดงความเข้าใจในความรู้ใหม่ที่ได้
                ระยะที่  4  สรุปผลโครงการ  เป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมการเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดง  การค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่างๆ  สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้าง  ครูจะจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น  เด็กสามารถช่วยกันเล่าเรื่องการทำโครงการให้ผู้อื่นฟัง  โดยจัดแสดงสิ่งที่เป็นจุดเด่นให้เพื่อนในชั้นเรียนอื่น  ครู  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และ ผู้บริหารได้เห็น  ครูจะช่วยเด็กเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาแสดง  ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับช่วยให้เด็กทบทวนและประเมินโครงการทั้งหมด  ครูอาจเสนอให้เด็กได้จินตนาการความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านทางศิลปะ ทางละคร  สุดท้ายครูนำความคิดและความสนใจของเด็กไปสู่การสรุปโครงการ และอาจนำไปสู่หัวเรื่องใหม่ของโครงการต่อไป  
ที่มา  :  กุลยา  ตันติผลาชีวะ,รศ.ดร.รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัย.
                   กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์ กราฟฟิค,2551
           กิตติคุณ  สุมนอมรวิวัฒน์,และคนอื่นๆ.รวมนวัตกรรมทฤษฏี
                   การศึกษาปฐมวัยสู่การประยุกต์ใช้ในห้องเรียน.
                   พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สาราเด็ก,2552

เชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้


รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ความหมาย ของ  PBL
                เมื่อดูจากรูปคำศัพท์  Problem – based Learning     Problem  แปลว่า ปัญหา   based  เแปลว่า  ฐาน  พื้นฐาน  Learning  แปลว่า การเรียนรู้    Problem – based  Learning  หรือ PBL  ก็คือ วิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่ง  ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ โดยการนำปัญหามาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้     การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL)  เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism ) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก  เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้    เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา   รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย     การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก
ลักษณะทั่วไปของ การเรียนรู้แบบ PBL (ยรรยง สินธุ์งาม. ๒๐๐๘)
             รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ  PBL  พอจะกล่าวได้ดังนี้
 ๑. ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning)
 ๒. จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ ๓ – ๕  คน)
 ๓. ครูทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก(facilitator)   หรือผู้ให้คำแนะนำ  (guide)
 ๔. ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้
 ๕. ลักษณะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ  ไม่ชัดเจน   มีวิธีแก้ไขปัญหาได้ อย่างหลากหลาย  อาจมี   
      คำตอบได้หลายคำตอบ          
 ๖. ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning)
 ๗. การประเมินผล ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง(authentic assessment)

วิธีการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มี ๖ ขั้นตอน  ( กมลวรรณ สายจุฑาวัฒน์,๒๐๐๗) ดังนี้

ขั้นที่ ๑   กำหนดปัญหา   จัดสถานการณ์ต่างๆกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ และมองเห็นปัญหา  สามารถกำหนด
               สิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้เรียนอยากรู้  อยากเรียนเกิดความสนใจที่จะค้นหาคำตอบ
ขั้นที่ ๒   ทำความเข้าใจกับปัญหา   ปัญหาที่ต้องการเรียนรู้  ต้องสามารถอธิบายสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้
ขั้นที่ ๓   ดำเนินการศึกษาค้นคว้า    นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยวิธีการหลากหลาย   
ขั้นที่ ๔  สังเคราะห์ความรู้  นักเรียนนำความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นที่ ๕    สรุปและประเมินค่าหาคำตอบ  นักเรียนแต่ละกลุ่ม  สรุปผลงานของกลุ่มตนเอง  และประเมินผลงานว่าข้อมูล
ที่ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสม  หรือไม่เพียงใด  โดยพยายามตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มของตนเองอย่างอิสระ  ทุกกลุ่มช่วยกันสรุปองค์ความรู้  ในภาพรวมของปัญหาอีกครั้ง
ขั้นที่ ๖  นำเสนอและประเมินผลงาน    นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบองค์ความรู้  และนำเสนอเป็นผลงานในรูปแบบที่หลากหลาย  ผู้เรียนทุกกลุ่ม ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาร่วมกันประเมินผลงาน  

ลักษณะของปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

          ๑.เกิดขึ้นในชีวิตจริงและเกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียนหรือผู้เรียนอาจมีโอกาสเผชิญกับปัญหานั้น         
             ๒.เป็นปัญหาที่พบบ่อย มีความสำคัญ มีข้อมูลประกอบเพียงพอสำหรับการค้นคว้า
          ๓.เป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจนตายตัว เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน คลุมเครือ หรือผู้เรียนเกิดความสับสน
          ๔.ปัญหาที่เป็นประเด็นขัดแย้ง ข้อถกเถียงในสังคมยังไม่มีข้อยุติ
          ๕.เป็นปัญหาอยู่ในความสนใจ เป็นสิ่งที่อยากรู้แต่ไม่รู้
          ๖.ปัญหาที่สร้างความเดือดร้อน เสียหาย เกิดโทษภัยเป็นสิ่งที่ไม่ดีหากใช้ข้อมูลโดยลำพังคนเดียวอาจทำให้ตอบปัญหาผิดพลาด
          ๗.เป็นปัญหาที่มีการยอมรับว่าจริง ถูกต้อง แต่ผู้เรียนไม่เชื่อจริง ไม่สอดคล้องกับความคิดของผู้เรียน
             ๘.ปัญหาที่อาจมีคำตอบหรือแนวทางในการแสวงหาคำตอบได้หลายทาง ครอลคลุมการเรียนรู้ที่กว้างขวาง
                 หลากหลายเนื้อหา
          ๙.เป็นปัญหาที่มีความยากความง่ายเหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน
           ๑๐.เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ทันที ต้องการการสำรวจค้นคว้าและการรวบรวมข้อมูลหรือทดลองดูก่อน จึงจะได้คำตอบ  ไม่สามารถที่จะคาดเดาหรือทำนายได้ง่ายๆว่าต้องใช้ความรู้อะไร ยุทธวิธีในการสืบเสาะหา
ความรู้จะเป็นอย่างไรหรือคำตอบหรือผลของความรู้เป็นอย่างไร
       ๑๑.เป็นปัญหาส่งเสริมความรู้ด้านเนื้อหาทักษะ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา ปัญหาที่นำมาประกอบในการจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องเป็นปัญหาที่มีความเป็นปัจจุบันและอยู่ในความสนใจ ของสังคมที่ยังหาข้อยุติไม่ได้   
พบเจออยู่บ่อยครั้งในชีวิตประจำวันหรือเป็นเหตุการณ์ประสบการตรงจากผู้เรียนเอง โดยปัญหาที่สร้างขึ้นจะต้อง
สอดคล้องกับสภาพพื้นฐานของผู้เรียนและตัวหลักสูตรการศึกษา มีข้อมูลประกอบเพียงพอสำหรับการศึกษา ค้นคว้า  นอกจากนี็ ยังต้องเป็นปัญหา ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ทันที ต้องเกิดกระบวนการศึกษาค้นคว้า รวบรวม
ข้อมูลหรือการทดลอง  เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ
บทบาทของครูในชั้นเรียน PBL 
              ผู้สอนมีบทบาทโดยตรงต่อการจัดการเรียนรู้ดังนั้นลักษณะของผู้สอนที่เอื้อต่อการจัดการเรีนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานควรมีลักษณะดังนี้  (สมรัชนีกร  อ่องเอิบ และคณะ )
๑.ผู้สอนต้องมุ่งมั่นตั้งใจสูง รู้จักแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
๒.ผู้สอนต้องรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลเข้าใจศักยภาพของนักเรียนเพื่อสามารถให้คำแนะนำ ช่วยเหลือนักเรียนได้ทุกเมื่อทุกเวลา
๓.ผู้สอนต้องเข้าใจขั้นตอนของแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานอย่างถ่องแท้ชัดเจนทุกขั้นตอน  เพื่อจะได้แนะนำให้คำปรึกษาแก่นักเรียนได้ถูกต้อง
๔.ผู้สอนต้องมีทักษะและศักยภาพสูงในสังคมยังไม่มีข้อยุติ    
๕.ผู้สอนต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกด้วยการจัดหา สนับสนุนสื่อ อุปกรณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมเพียงพอ จัดเตรียม   
    ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
๖.ผู้สอนต้องมีจิตวิทยาสร้างแรงจูงใจแก่นักเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการตื่นตัวในการเรียนรู้ตลอดเวลา
๗.ผู้สอนต้องชี้แจงและปรับทัศนะคติของนักเรียนให้เข้าใจและเห็นคุณค่าของการเรียนรู้แบบนี้
๘.ผู้สอนต้องมีความรู้ ความสามารถ ด้านการวัดและประเมินผลนักเรียนตามสภาพจริง ให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ 
    ทักษะกระบวนการและเจตคติให้ครบทุกขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้

ข้อดีของการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก

1) ได้รับความรู้ในเนื้อหาวิชาที่เป็นการบูรณาการ และนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา
2) พัฒนาทักษะ ความสามารถในการแก้ปัญหา
3) พัฒนาทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4) พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม
5) เพิ่มแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

ข้อจำกัดของการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
1) เป็นการเรียนที่เหมาะสำหรับสายวิชาชีพซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกรายวิชา
2) ผู้สอนต้องมีทักษะในการเป็นผู้สอนประจำกลุ่ม
3) ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองและให้ความร่วมมือในการเรียนร่วมกัน

เชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้



รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษา (case base)

วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและแก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ ความคิดขอผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น

ขั้นตอนสำคัญของการสอน
1. ผู้สอน / ผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง
2. ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง
3. ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ
4. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ
5. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา วิธีแก้ปัญหาของผู้เรียน และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างให้มีประสิทธิภาพ

การเตรียมการ
ก่อนการสอน ผู้สอนต้องเตรียมกรณีตัวอย่างให้พร้อม ต้องมีสาระซึ่งจะช่วยทำให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริง กรณีที่นำมาใช้ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่มี สถานการณ์ปัญหาขัดแย้ง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความคิดของผู้เรียน หากไม่มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง ผู้สอนอาจใช้วิธีการตั้งประเด็นคำถามที่ท้าทายให้ผู้เรียนคิดก็ได้ ผู้สอนอาจนำเรื่องจริงมาเขียนเป็นกรณีตัวอย่าง หรืออาจใช้เรื่องจากหนังสือพิมพ์ ข่าว และเหตุการณ์ รวมทั้งจากสื่อต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เป็นได้กรณีที่ต้องการแล้ว ผู้สอนจะต้องเตรียมประเด็นคำถามสำหรับการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ต้องการ

การนำเสนอกรณีตัวอย่าง
ผู้สอนอาจเป็นผู้นำเสนอกรณีตัวอย่าง หรืออาจใช้เรื่องจริงจากผู้เรียนเป็นกรณีตัวอย่างก็ได้ วิธีการนำเสนอทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์เป็นข้อมูลมาให้ผู้เรียนอ่าน การเล่ากรณีตัวอย่างให้ฟัง หรือนำเสนอโดยใช้สื่อ เล่น สไลด์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หรืออาจให้ผู้เรียนแสดงเป็นละครหรือบทบาทสมมติก็ได้

การศึกษากรณีตัวอย่างและการอภิปราย
ผู้สอนควรแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยและให้เวลาอย่างเพียงพอในการศึกษากรณีตัวอย่างและคิดหาคำตอบ แล้วจึงร่วมกันอภิปรายเป็นกลุ่มและนำเสนอผลการอภิปรายระหว่างกลุ่มเป็นการแลกเปลี่ยนกัน ผู้สอนพึงตระหนักว่าการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง มิได้มุ่งที่คำตอบใดคำตอบหนึ่ง ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน แต่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นคำตอบและเหตุผลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดที่กว้างขึ้น มองปัญหาในแง่มุมที่หลากหลายขึ้น อันจะช่วยให้การตัดสินใจมีความรอบคอบขึ้น ด้วยเหตุนกี้ ารอภิปรายจึงควรมุ่งความสนใจไปที่เหตุผลหรือที่มาของความคิดที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ

ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
3. เป็นวิธีสอนที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้จากกันและกัน

ข้อจำกัด
หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้อาจไม่กว้างเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน

ที่มา
http://www.arts.ac.th

เชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้



รูปแบบการสอนที่ใช้สถานการณ์จำลองและเกม

...เป็นการสอนที่มุ่งช่วยผู้เรียนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นจริงที่สถานการณ์นั้นจำลองขึ้นมา ดังนั้นการอภิปรายจึงควรมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้ความเป็นจริงว่า ในความเป็นจริง สถานการณ์ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างไร และอะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้จากการเล่นของตนในสถานการณ์นั้น...
12.1  ความหมาย
                วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียงกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
12.2  วัตถุประสงค์
                วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ หรือเรื่องที่มีตัวแปรจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน
12.3  องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน
                12.3.1  มีสถานการณ์  ข้อมูล บทบาทและกติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง
                12.3.2  ผู้เล่นในสถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กันหรือมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น
                12.3.3  ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการใช้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ
                12.3.4  การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
                12.3.5  มีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น เพื่อการเรียนรู้
12.4  ขั้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของการสอน
                12.4.1  ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลอง
                12.4.2  ผู้สอนนำเสนอสถานการณ์จำลอง บทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น
                12.4.3  ผู้เรียนเลือกบทบาทที่จะเล่น หรือผู้สอนกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
                12.4.4  ผู้เรียนเล่นตามกติกาที่กำหนด
                12.4.5  ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น
                12.4.6  ผู้สอนและผู้เรียนสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเล่น
12.5  เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพ
                12.5.1  การเตรียมการ
               ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลองที่จะใช้สอนโดยอาจสร้างขึ้นเอง เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยตรง ซึ่งถ้าจะสร้างขึ้นเอง ผู้สร้างจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการสร้าง รวมทั้งมีประสบการณ์ในสถานการณ์นั้นในความเป็นจริง หรือผู้สอนอาจเลือกสถานการณ์จำลองที่มีผู้สร้างไว้แล้ว หากตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการสถานการณ์จำลองที่วางจำหน่ายมีจำนวนไม่น้อย ผู้สอนสามารถศึกษาได้จากรายการและการคำอธิบายซึ่งจะบอกวัตถุประสงค์และลักษณะของสถานการณ์จำลองไว้สถานการณ์จำลองโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ เป็นสถานการณ์จำลองแท้ กับสถานการณ์จำลองแบบเกม หรือที่เรียกว่า เกมจำลองสถานการณ์ สถานการณ์จำลองแท้ จะเป็นสถานการณ์การเล่นที่ให้ผู้เรียนได้เล่น เพื่อเรียกรู้ความจริง เช่น ผู้สอนอาจจำลองสถานการณ์ในประวัติศาสตร์ขึ้นมาให้ผู้เรียนเล่น โดยผู้เรียนจะต้องใช้ข้อมูลที่เป็นจริงของสถานการณ์นั้นในการจัดสินใจในเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนเกมจำลองสถานการณ์ มีลักษณะเป็นเกมการเล่น แต่เกมการเล่นนี้มีลักษณะที่สะท้อนความเป็นจริง ในขณะที่เกมธรรมดาทั่วๆ ไป อาจจะไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงอะไร เกมจำลองสถานการณ์นี้มีอยู่ 2 ประเภทคือ เป็นเกมจำลองสถานการณ์นี้มีอยู่ 2 ประเภทคือ เป็นเกมจำลองสถานการณ์แบบไม่มีการแข่งขัน เช่น เกมจำลองสถานการณ์การเลือกตั้ง เกมจำลองสถานการณ์การเลือกอาชีพ เป็นต้น และเกมจำลองสถานการณ์แบบมีการแข่งขัน เช่น เกมจำลองสถานการณ์มลภาวะเป็นพิษ เกมจำลองสถานการณ์การค้าขาย เป็นต้น
               เมื่อมีสถานการณ์จำลองแล้ว ผู้สอนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในสถานการณ์จำลองนั้น และความลงเล่นด้วยตนเอง เพื่อจะได้ทราบถึงอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ในการเล่น จะได้จัดเตรียมการป้องกันหรือแก้ไขไว้ให้พร้อม เพื่อช่วยให้การเล่นเป็นไปอย่างสะดวกและราบรื่น ต่อจากนั้นจึงจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการเล่นไว้ให้พร้อม รวมทั้งการจัดสถานที่เล่นให้เอื้ออำนวยต่อการเล่น
                12.5.2 การนำเสนอสถานการณ์จำลอง บทบาท และกติกา
                 เนื่องจากสถานการณ์จำลองส่วนใหญ่จะมีความซับซ้อนพอสมควรไป ถึงระดับมาก การนำเสนอสถานการณ์ บทบาท และกติกา จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมการอย่างดี ผู้สอนควรนำเสนออย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ไม่สับสน และควรจัดข้อมูลทุกอย่างไว้ให้พร้อม ในการนำเสนอ ผู้สอนควรเริ่มด้วยการบอกเหตุผลและวัตถุประสงค์กว่างๆ แก้ผู้เรียนว่า การเล่นในสถานการณ์จำลองนี้จะให้อะไรและเหตุใดจึงมาเล่นกัน ต่อไปจึงให้ภาพรวมของสถานการณ์จำลองทั้งหมด แล้วจึงให้รายละเอียดที่จำเป็น เช่น กติกา บทบาท เมื่อทุกคนเข้าใจพอสมควรแล้ว จึงให้เล่นได้
                12.5.3     การเลือกบทบาท
                            เมื่อผู้เรียนเข้าใจภาพรวม และกติกาแล้ว ผู้เรียนทุกคนควรได้รับบทบาทในการเล่น ซึ่งผู้เรียนอาจเป็นผู้เลือกเอง หรือในบางกรณี ครูอาจกำหนดบทบาทให้ผู้เรียนบางคนรับบทบาทบางบทบาท ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการหรือความจำเป็นของผู้เรียนคนนั้น
                12.5.4 การเล่นในสถานการณ์จำลอง
                ในขณะที่ผู้เรียนกำลังเล่นในสถานการณ์จำลองนั้นผู้สอนควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน และจดบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ นอกจากนั้นต้องคอยดูแลให้การเล่นดำเน้นไปอย่างไม่ติดขัด ให้คำปรึกษาความจำเป็น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
                12.5.5 การอภิปราย
                เนื่องจากการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเป็นการสอนที่มุ่งช่วยผู้เรียนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นจริงที่สถานการณ์นั้นจำลองขึ้นมา ดังนั้นการอภิปรายจึงควรมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้ความเป็นจริงว่า ในความเป็นจริงสถานการณ์ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างไรและอะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์นั้น ๆ ซึ่งผู้เรียนควรได้เรียนรู้จากการเล่นของตนในสถานการณ์นั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้เรียนรู้ความเป็นจริงแล้ว การอภิปรายอาจขยายต่อไปว่า เราควรจะให้สถานการณ์นั้นคงอยู่ หรือเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้
12.6  ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
                12.6.1 ข้อดี
                1)        เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้อย่างเข้าใจ เกิดความเข้าใจ เนื่องจากได้มีประสบการณ์ที่เห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง
                2)        เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูงมาก ผู้เรียนได้เรียนอย่างสนุกสนาน การเรียนรู้มีความหมายต่อตัวผู้เรียน
                3)       เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก เช่น กระบวนการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการสื่อสาร กระบวนการจัดสินใจ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการคิด เป็นต้น
                12.6.2 ข้อจำกัด
                1)        เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องมีวัสดุอุปกรณ์  และข้อมูลสำหรับผู้เล่นทุกคน และสถานการณ์จำลองบางเรื่องมีราคาแพง
                2)       เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก เพราะต้องใช้เวลาแก้ผู้เล่นในการเล่นและการอภิปราย
                3)       เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก ผู้สอนต้องศึกษารายละเอียด และลองเล่นด้วยตนเอง และในกรณีที่ต้องสร้างสถานการณ์จำลองหรือเกมจำลองสถานการณ์เอง ยิ่งต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
                4)        เป็นวิธีสอนที่ต้องพึ่งสถานการณ์จำลอง ถ้าไม่มีสถานการณ์จำลองที่ตรงกับวัตถุประสงค์ หรือความต้องการ ผู้สอนต้องสร้างขึ้นเอง ถ้าผู้สอนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสถานการณ์เพียงพอ ก็จะไม่สามารถสร้างได้
                5)       เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่นและแสดงออกอย่างหลากหลาย จึงเป็นการยากสำหรับผู้สอนในการนำการอภิปรายให้ไปสู่การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม

ในการปฏิรูปการเรียนรู้นั้น  ผู้สอนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้   มีความรู้   ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน   และมีความเชื่อว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้หมดทุกคนตามประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล  นักการศึกษา          โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (http://images.somnuck.multiply.com/attachment10/ STXWKAOKCGWAACT RUOL/%EO….)   ได้กล่าวว่า   ทุกคนมีความสามารถที่หลากหลาย   (Multiple intelligences)  ใน 8 ด้าน คือ   ด้านภาษา   ด้านการใช้เหตุผล   ด้านมิติพันธ์   ด้านร่างกาย   ด้านการเคลื่อนไหว   ด้านดนตรี   ด้านมนุษยสัมพันธ์  ด้านความเข้าใจในตนเอง  และด้านความเข้าใจในธรรมชาติ  ดังนั้น  ในการจัดการเรียนการสอน  ต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  สามารถเรียนรู้ได้ตามความแตกต่างของบุคคล
ความหมายการสอนโดยใช้เกม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม  คือ  เกมการศึกษา  เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เป็นเกมที่มีลักษณะการเล่นเพื่อการเรียนรู้  “Play to learning”  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม  เรียนไปด้วยและก็สนุกไปด้วยพร้อมกัน ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (สุชาติ แสนพิช http://researchers:in.th/ block/ Seampich/127)
พระมหาธราบุญ  คูจินดา  (http://www.pty.ac.th/ptyweb2009/download/Jeopardy Game Research.doc)  กล่าวว่า  เกมประกอบการสอน  หมายถึง  การนำเอาจุดประสงค์ใด ๆ ของการเรียนรู้ตามหลักสูตรมาประกอบขึ้นเป็นการเล่น  ผู้เล่นจะเล่นเกมไปตามกติกาที่กำหนด  ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ในเนื้อหามามีส่วนร่วมในการเล่นด้วย
ทิศนา  แขมมณี  (2544 : 81 – 85)  กล่าวว่า  การเรียนรู้โดยใช้เกม  เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  โดยการให้นักศึกษาเล่นเกมตามกติกา  และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น  วิธีการเล่น และผลของการเล่นเกมของนักศึกษามาใช้ในการสรุปการเรียนรู้โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ  อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ  โดยนักศึกษาเป็นผู้เล่นเอง  ทำให้ได้ประสบการณ์ตรง  เป็นวิธีที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมสูง
คณาภรณ์  รัศมีมารีย์  (http://www.itie.org/eqi/modules.php?name=Journal&file= display&jid=683) กล่าวว่า เกมที่นำมาใช้ในการสอนส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่เรียกว่า เกมการศึกษา เป็นเกมที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เล่นเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  มิใช่เล่นเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น
จึงสรุปได้ว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกมมีประโยชน์ช่วยให้นิสิต นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน  เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน  และเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนไปโดยที่ผู้เรียนไม่รู้ตัว  รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการทำงานและอยู่ร่วมกัน
เทคนิคการสอนโดยใช้เกม
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมให้มีประสิทธิภาพ  ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  มีดังนี้
1.  การเลือกและนำเสนอเกม ผู้สอนต้องสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาสาระของการสอน  ถ้านำเกมของผู้อื่นที่สร้าง  ต้องนำมาปรับ  ดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ซึ่งเกมการศึกษามี 3 ประเภท  คือ
1.1  เกมแบบไม่มีการแข่งขัน  เช่น  เกมการสื่อสาร  เกมการตอบคำถาม เป็นต้น
1.2  เกมแบบแข่งขัน   มีผู้แพ้   ผู้ชนะ     เกมส่วนใหญ่จะเป็นเกมแบบนี้เพราะการแข่งขันช่วยให้การเล่นเพิ่มความสนุกสนาน
1.3  เกมจำลองสถานการณ์  เป็นเกมที่จำลองความเป็นจริง  สถานการณ์จริง เกมแบบนี้มี 2 ลักษณะ  คือ
1.3.1  การจำลองความเป็นจริงลงมาเล่นในกระดานหรือบอร์ด  เช่น  เกมเศรษฐี  เกมมลภาวะ  เกมแก้ปัญหาความขัดแย้ง  เป็นต้น
1.3.2  การจำลองสถานการณ์และบทบาทให้เหมือนความเป็นจริง    โดยผู้เล่นจะต้องลงไปเล่นจริง
สุชาติ  แสนพิช  (http://researchers:in.th/block/Seampich/127)  กล่าวว่า  รูปแบบเกมที่จะนำมาใช้ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก  ดังนี้
1.  ความจำ ความคงทนในการจำชุดของเนื้อหา เช่น เกมแบบฝึกหัด  เกม Puzzle เป็นต้น
2.  ทักษะการกระทำ   มีเรื่องของสถานการณ์และการกระทำ  การเลียนแบบ  เป็นเกมแบบ Simulation  ต่าง ๆ  เช่น เกมยิง  เกมขับรถ  เป็นต้น
3.  ประยุกต์ความคิดรวบยอดและกฎข้อบังคับต่าง ๆ     และขั้นตอนวิธีการในการปฏิบัติ  มีเงื่อนไขในการกระทำ  เช่น  เกมกีฬา, Action
4.  การตัดสินใจ การแก้ปัญหา เกมแบบเป็นเรื่องราว สามารถแสดงผลการกระทำได้ทันที (Real Time)  เช่น  เกมวางแผน  เกมผจญภัย  เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก
5.  การอยู่ร่วมกับสังคม   เช่น   เกมเกี่ยวกับการสื่อสาร   เกมเล่าเรื่องแล้วให้เลือก  เกมวางแผน
จึงสรุปได้ว่า  การสอนโดยใช้เกมต้องเลือกใช้เกมหรือสร้างเกมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอน  เพื่อฝึกฝนทักษะ  เพื่อเรียนรู้เนื้อหาสาระ  หรือเพื่อเรียนรู้ความจริงของสถานการณ์  ผู้สอนต้องสังเกตให้ชัดเจนก่อนสร้างเกม  หรือก่อนเลือกเกมผู้อื่นมาปรับใช้
2.  การชี้แจงวิธีการเล่นและกติกาการเล่น
ผู้สอนควรจัดลำดับขั้นตอนและให้รายละเอียดที่ชัดเจน  กติกาการเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเล่นเกม  เพราะกติกานี้จะตั้งขึ้นเพื่อควบคุมให้การเล่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์  และดูแลให้ผู้เล่นปฏิบัติตามกติกาของการเล่นอย่างเคร่งครัด
3.  การเล่นเกม
ก่อนการเล่น ผู้สอนควรจัดสถานที่ของการเล่นให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการเล่น   การเล่นควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน  และต้องคอยควบคุมเวลาในการเล่น
ขณะกำลังเล่น ผู้สอนควรติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด  และควรบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  เพื่อนำไปใช้ในการอภิปรายหลังการเล่น
4.  การอภิปรายหลังการเล่น  ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก  หากขาดขั้นตอนนี้การเล่นเกมก็คงไม่ใช่วิธีสอน  การอภิปรายหลังการเล่นเกมควรมุ่งประเด็นไปตามจุดประสงค์ของการสอนเพื่ออะไร  ซึ่งอาจแบ่งการอภิปรายผลหลังการเล่นเกมตามจุดประสงค์ของการเล่นเกมได้  ดังนี้
1.  เพื่อฝึกฝนเทคนิคหรือทักษะต่าง ๆ  ที่ต้องการให้ผู้เรียน  การอภิปรายควรมุ่งไปที่ทักษะนั้นว่า  ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะนั้นเพียงใด  ประสบความสำเร็จตามต้องการหรือไม่  และจะมีวิธีใดที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น
2.  เพื่อเรียนรู้เนื้อหาสาระจากเกม    ควรอภิปรายในประเด็นที่ว่า    ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างไร  ได้ความเข้าใจมาจากเล่นเกมตรงส่วนใด
3.  เพื่อเรียนรู้ความเป็นจริงของสถานการณ์ต่าง ๆ        ควรอภิปรายในประเด็นว่า  ผู้เรียนได้เรียนรู้ความจริงอะไรบ้าง  การเรียนรู้นั้นได้มาจากไหน อย่างไร  ผู้เรียนได้ตัดสินใจอะไรบ้าง  ทำไมจึงตัดสินใจเช่นนั้น  และการตัดสินใจให้ผลอย่างไร  ผลนั้นบอกความจริงอะไร  ผู้เรียนมีข้อสรุปอย่างไร  เพราะอะไรจึงสรุปอย่างนั้น  เป็นต้น
จึงกล่าวได้ว่า  จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต่างกัน  เกมที่ใช้ก็จะแตกต่างกันไปด้วย  ดังนั้นการเลือกใช้และพัฒนาเกม   จึงควรคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ควบคู่ไปกับรูปแบบเกมที่เหมาะสม    เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปพร้อมกับการเกิดการเรียนรู้
คณาภรณ์  รัศมีมารีย์  กล่าวว่า  การเรียนการสอนโดยใช้เกมนี้ต้องมีบทบาทของผู้สอน  ผู้เรียน  บรรยากาศการเรียนการสอน  และสื่อ  ดังนี้
การเตรียมบทบาทของผู้สอน
1.  ก่อนการใช้กิจกรรมเกม
1.1  ผู้สอนเตรียมเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน
1.2  ผู้สอนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเล่นเกม
1.3  ผู้สอนเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ  เท่ากับจำนวนนักศึกษา
2.  ระหว่างการเล่น
2.1  ผู้สอนแจกเอกสารความรู้และเกม
2.2  ผู้สอนอธิบายกติกา  และวิธีเล่นแก่ผู้เรียน
2.3  ให้กลุ่มผู้เรียนเล่นเกมในเวลาที่กำหนด
3.  หลังการใช้กิจกรรมเกม
3.1  ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเล่นเกม
3.2  ผู้สอนประเมินตนเองในการใช้เทคนิคเกม
การเตรียมบทบาทของผู้เรียน
1.  ผู้สอนแบ่งกลุ่มของผู้เรียนให้สอดคล้องกับเกม
2.  ผู้เรียนศึกษาเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน
3.  ผู้เรียนศึกษากติกาและวิธีการเล่นเกม
4.  ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเล่นเกม
บรรยากาศการเรียนการสอน
1.  สถานที่ที่ใช้เล่นเกม  ควรเป็นห้องที่สามารถจัดนักศึกษานั่งเป็นกลุ่มได้
2.  การเรียนเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง  โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะ นิสิต นักศึกษาศึกษาเอกสารความรู้และเล่นเกม
3.  ในขณะเล่นเกมเพื่อเป็นการผ่อนคลาย  อาจเปิดเพลงเบา ๆ ได้
สื่อการเรียนรู้
1.  เอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สอน (ใบงาน)
2.  อุปกรณ์เกี่ยวกับเกม  กติกา  และวิธีเล่น
จึงกล่าวได้ว่า  รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกม  เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ  และจูงใจผู้เรียนให้สนใจเรียนรู้เพิ่มขึ้น  เกมอาจจำแนกเป็นเกมที่มีวัสดุประกอบ  เช่น เกมไพ่  เกมบิงโก  เกมอักษรไขว้  เกมกระดานต่าง ๆ  เป็นต้น  และเกมที่ไม่มีวัสดุประกอบ  เช่น เกมทายปัญหา  เกมใบ้คำ  เกมสถานการณ์จำลอง  เป็นต้น  ผู้สอนจึงควรเลือกเกมมาใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน  จุดประสงค์และวัยของผู้เรียน
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้เกม
พระมหาธราบุญ  คูจินดา  (http://www.pty.ac.th/ptyweb2009/download/Jeopardy gameReseach.doc)  ได้ทำการวิจัยเรื่อง  ประสิทธิผลการสอนทักษะการฟัง  พูด  อ่าน  และเขียนอังกฤษด้วยเกม Jeopardy  พบว่า เกม Jeopardy  ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการฟัง  พูด  อ่านเขียนภาษาอังกฤษได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเยี่ยม  ผู้เรียนมีความพึงพอใจและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  และได้กล่าวว่า  เกมมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
1.  เกมเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคล่องและความสามารถรอบตัวสูง    ช่วยให้ผู้เล่นมีผลสัมฤทธิ์ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านพุทธิศึกษา และจริยศึกษา  และความสามารถด้านการวิเคราะห์  การสังเคราะห์และการประเมินค่า
2.  เกมจะช่วยให้ผู้เล่นพัฒนาพลังความคิดสร้างสรรค์ได้มาก
3.  เกมส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจ  การสื่อสาร  ความสัมพันธ์กับผู้อื่น  และเจตคติทางด้านความกระตือรือร้นที่จะฟังความเห็นผู้อื่น  ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา
4.  ข้อได้เปรียบสูงสุดของวิธีสอนโดยใช้เกม คือ ความสนุก  ทำให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดี
5.  เกมส่วนใหญ่มักจะใช้พื้นฐานทางวิชาการหลาย ๆ   ด้าน          ซึ่งทำให้ผู้เล่นต้องรู้จักบูรณาการความรู้และทักษะหลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน
ทิศนา  แขมมณี  (2551 : 368 – 369)  ได้กล่าวว่า  วิธีสอนโดยใช้เกมมีข้อดีและข้อจำกัด  ดังนี้
ข้อดีของวิธีสอนโดยใช้เกม
1.  เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง  ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
2.  เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้   โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง   ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน
3.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอน  และผู้เรียนชอบ
ข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยใช้เกม
1.  เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก
2.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม
3.  เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก
4.  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ   จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
เชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้